รับปิดงบการเงินเปล่า
ให้บริการด้านการจัดตั้งธุรกิจ รับปิดงบการเงินเปล่า รับปิดงบการเงินทั่วไทย ทราบกันดีว่า ทุกๆ สิ้นปี 31 ธันวาคม นิติบุคคลจะต้องปิดงบการเงิน เพื่อ นำส่ง กระทรวงพาณิชย์ กรมสรรพากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีระยะเวลากำหนดรับงบการเงิน หากยื่น เกินกำหนด ก็จะก่อให้เกิด ค่าปรับต่างๆ และยังส่งผลกระทบด้านอื่น ตามมา เช่น บางบริษัท อาจจะเป็นต้องใช้งบการเงินในการยืมกู้สินเชือต่างๆ หรือใช้ประมูลงานราชการซึ่งจำเป็นต้องใช้งบการเงิน ประกอบ ดังนั้น บริษัท ยินดีที่จะให้บริการ ปิดงบการเงินให้กับ นิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลหมู่บ้าน โรงเรียน ฯลฯ การยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ใบทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า) หน้าที่การยื่น แบบแสดงรายได้ เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ ให้ยื่น ภายในสินเดือน มีนาคม ของทุกปี ซึ้งของดีคือ ผุ้ประกอบการสามารรถใช้เอกสารการเสียภาษี เป็นเอกสารประกอบการยืมกู้ของสินเชือได้ เพราะสถาบันการเงินจะขอหลักฐานที่แสดงว่ามีรายได้
บริการเริ่มตั้งแต่การให้ คำแนะนำในการเลือกประเภทจดทะเบียนธุรกิจ วางระบบบัญชี ทำบัญชีรายเดือน การวางแผนกำหนดชำระภาษี ปิดงบการเงิน จนถึง ตรวจสอบงบการเงิน พร้อมนำส่ง กระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากร ให้ทันตามเวลากำหนด โดยให้ลูกค้าเสียภาษี น้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนด
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ไม่ใช่การจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือจดห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่เป็นเรื่องของการวางแผนภาษี การจัดทำบัญชี มากกว่า การดูแลให้ธุรกิจอยู่รอดในแต่ละปี ทำอย่างไรถึงจะมีงานตลอด ขายของได้ตลอด มียอดขายดี สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ต้องการมากกว่าแค่การทำบัญชีทั่วๆไป คือ “คำปรึกษา” ซึ่งทางบริษัท ควิกแอคเคาท์ติ้ง จำกัด เป็นมากกว่าสำนักงานบัญชี สิ่งที่เราให้ จะมีมูลค่ามากกว่าค่าบริการที่เราได้รับ เราให้ได้เพราะเราขาย “ประสบการณ์” ประสบการณ์ที่ผู้บริหารหลายท่านต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ แต่เรานำมาถ่ายทอดให้ท่านฟรี เพียงเพราะเราต้องการให้ธุรกิจของท่านเติบโต และดำเนินไปด้วยความราบรื่นด้วยดีตลอดไป
ปรึกษาเรื่องการปิดงบการเงิน จดทะเบียนบริษัท ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เราดำเนินงานด้าน รับจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัท อย่างมีระบบ และคำนึงถึงความถูกต้อง เราสามารถช่วยหาทางออกในการดำเนินธุรกิจของท่านให้ประสบความสำเร็จได้ โทร 083-622-5555
รับปิดงบเปล่า รับปิดงบการงานเงินเปล่า ปิดงบเปล่า ปิดงบการเงินเปล่า ปิดงบเปล่าด่วน
บริการจดทะเบียนบริษัท
รับจดทะเบียนบริษัททุกประเภท ทั่วไทย เริ่มตั้งแต่ให้คำปรึกษา จองชื่อนิติบุคคล จัดเตรียมแบบ ไปจดทะเบียน ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
บริการขอใบอนุญาต
บริการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงงาน ท่องเที่ยว ใบอนุญาต อย.และ สคบ. ขอวีซ่า work permit ขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ
บริการด้านรับทำบัญชี
บริการด้านรับทำบัญชี เพียงไม่กี่รายในประเทศไทย ที่มีมาตรฐานในการทำงาน เนื่องด้วยผู้บริหารหลายท่าน มีวิสัยทัศน์ในเรื่องการบริหาร การตลาดยุคใหม่
พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่
ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก
ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท
ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม
พิเศษ !!! ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี
- ฟรี เว็บไซต์ สำหรับบริษัทพร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
- ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท
- ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
- ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
- ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่าระบบออนไลน์
- ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
- ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ
สิ่งที่ลูกค้าได้รับ
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรี ออกแบบตรายางให้เลือก 3 แบบ
ฟรี ตรายางหมึกในตัว 2 อัน *
ฟรี ไฟล์ตรายาง สำหรับนำไปใช้งาน (ไฟล์ AI)
ฟรี เอกสารสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชี
ฟรี นามบัตรสำหรับออกใบกำกับภาษี
ฟรี คอร์สอบรมผู้ประกอบการใหม่ (มูลค่า 5,900 บาท)
ฟรี จัดทำบัญชี ฟรี 1 เดือน ***
ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์
หนังสือรับรองบริษัท
รายละเอียดวัตถุประสงค์บริษัท
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ออกแบบเว็บไซต์ องค์กร/หน่วยงาน ราคาพิเศษ 5,000 บาท
*** หมายเหตุ
- * ตรายางอันที่ 2 และ 3 เป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
- *** จัดทำบัญชีฟรี 1 เดือน สำหรับลูกค้าใหม่ที่ตกลงใช้บริการทำบัญชี ตั้งแต่ 12 เดือน ขึ้นไป
-
รับปิดงบการเงินเปล่า เขตบางบอน
-
รับปิดงบการเงินเปล่า เขตทุ่งครุ
-
รับปิดงบการเงินเปล่าเขตบางนา
-
รับปิดงบการเงินเปล่า เขตวังทองหลาง
-
รับปิดงบการเงินเปล่า เขตสะพานสูง
-
รับปิดงบการเงินเปล่า เขตบางแค
-
รับปิดงบการเงินเปล่า เขตบางคอแหลม
-
รับปิดงบการเงินเปล่า เขตคลองสาน
-
รับปิดงบการเงินเปล่า เขตบางกอกใหญ่
-
รับปิดงบการเงินเปล่า เขตธนบุรี
จังหวัดพิษณุโลก
คำขวัญ:
ประวัติศาสตร์
พบแหล่งโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ภาพสลักบนหินที่ถ้ำกาและผาขีดเขาภูขัด อำเภอนครไทย และภาพสลักหินที่ผากระดานเลข อำเภอชาติตระการ ซึ่งภาพสลักหินเหล่านี้อยู่ในยุคโลหะมีอายุประมาณสี่พันปีก่อน
จดหมายเหตุลาลูแบร์กล่าวถึงพระเจ้าพนมไชยศิริอพยพผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่นครไทย อาจหมายถึงพระเจ้าชัยศิริแห่งอาณาจักรโยนกเชียงแสนซึ่งเผชิญกับการรุกรานของอาณาจักรสุธรรมวดีอพยพลงมาทางใต้(ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่าอพยพไปกำแพงเพชร) แหล่งโบราณคดีนครไทยเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัยในสมัยขอมโบราณมีชุมชนตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองพิษณุโลกในปัจจุบันบริเวณวัดจุฬามณีคือเมืองสองแควเดิม พระปรางค์วัดจุฬามณีสร้างขึ้นในสมัยขอมต่อมาพ่อขุนบางกลางหาวแห่งเมืองบางยางร่วมมือกับพ่อขุนผาเมืองแห่งเมืองราดขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากภูมิภาคนำไปสู่การกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย สันนิษฐานว่าเมืองบางยางคือเมืองนครไทย
สมัยสุโขทัย
เมืองพิษณุโลกเดิมมีชื่อต่าง ๆ กัน ปรากฏชื่อเมือง "สองแคว" ในจารึกวัดศรีชุม "พระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีเกิดในนครสรลวงสองแคว"ชื่อเมืองสองแควหมายถึงเมืองซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย ในช่วงต้นสมัยสุโขทัยเมืองสองแควอยู่ในการปกครองของพระยาคำแหงพระรามแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถม จนกระทั่งรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเมืองสองแควเข้ามาอยู่ในการปกครองของสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงดังที่ระบุไว้ในจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ในพงศาวดารเหนือระบุว่า "พระเจ้าศรีธรรมปิฎก"หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านบริเวณเมืองพิษณุโลกในปัจจุบัน พระมหาธรรมราชาลิไททรงสร้างวัดต่างๆขึ้นเป็นจำนวนมากได้แก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดเจดีย์ยอดทอง วัดอรัญญิก และบูรณะวัดวัดราชบูรณะ ทรงให้หล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดาขึ้นประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดใหญ่ พระพุทธชินราชซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุใช้เป็นตราประจำจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้พระมหาธรรมราชาลิไทยังทรงสร้างพระราชวังจันทน์เมืองสองแควพัฒนาขึ้นกลายเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรสุโขทัยทางทิศตะวันออก
นอกจากนี้เมืองสองแควยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองชัยนาท"หมายถึงเมืองฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านบริเวณพระราชวังจันทน์ ขุนหลวงพะงั่วยกทัพอยุธยาขึ้นมายึดเมืองชัยนาทได้สำเร็จจนพระมหาธรรมราชาลิไทจำต้องเจรจากับพระเจ้าอู่ทองสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เพื่อขอเมืองชัยนาทคืน ทำให้พระมหาธรรมราชาลิไทต้องเสด็จย้ายมาประทับที่เมืองสองแควหรือเมืองชัยนาทอยู่เป็นเวลาเจ็ดปีพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) ครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองสองแควทำให้เมืองสองแควกลายเป็นราชธานีของอาณาจักรสุโขทัย เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) สวรรคตในพ.ศ. 1962 เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยารามและพระยาบาลเมือง สมเด็จพระนครินทราธิราชแห่งอยุธยาเสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ย ให้พระยารามครองเมืองสุโขทัยในขณะที่พระยาบาลเมืองขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 แห่งสองแคว ทำให้เมืองสองแควแยกตัวจากสุโขทัยและเป็นประเทศราชของอยุธยา เมืองสองแควทวีความสำคัญขึ้นมามากกว่าสุโขทัย
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 สวรรคตในพ.ศ. 1981 สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 ทรงส่งพระโอรสคือพระราเมศวรซึ่งมีพระราชมารดาเป็นพระธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ไปครองเมืองสองแควประทับที่พระราชวังจันทน์ เมื่อพระราเมศวรต่อมาขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมืองสองแควจึงได้รวมกับอาณาจักรอยุธยา
สมัยอยุธยา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแต่งตั้งให้พระยายุทธิษเฐียรซึ่งเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 4 เป็น "พระยาสองแคว" เป็นเจ้าเมืองอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยา แต่พระยายุทธิษเฐียรคิดตั้งตนขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาจึงหันไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา นำไปสู่สงครามระหว่างอยุธยาและล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถย้ายมาประทับที่เมืองสองแควในพ.ศ. 2006 เมื่อตั้งรับศึกกับล้านนาและทรงผนวชที่วัดจุฬามณีในพ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 คนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงรวมเมืองฝั่งตะวันออกและเมืองชัยนาทฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านเข้าด้วยกันแล้วพระราชทานนามใหม่ว่า เมืองพระพิษณุโลกสองแคว ปรากฏชื่อเมือง "พิษณุโลก" ขึ้นครั้งแรกในลิลิตยวนพ่าย
หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครองของอยุธยาในหัวเมืองเหนือ โดยมีพระมหาอุปราชซึ่งเป็นพระราชโอรสทรงครองเมืองและประทับอยู่ที่พระราชวังจันทน์ เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตพระเชษฐาพระโอรสเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาพระเชษฐาได้ราชสมบัติอยุธยาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงแต่งตั้งให้พระโอรสคือพระไชยราชาให้ครองเมืองพิษณุโลก พระไชยราชายึดอำนาจจากพระรัษฎาธิราชขึ้นเป็นสมเด็จพระไชยราชาธิราช จากนั้นไม่มีการตั้งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อขุนพิเรนทรเทพยึดอำนาจจากขุนวรวงศาธิราชในพ.ศ. 2091 และเชิญสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงแต่งตั้งให้ขุนพิเรนทรเทพให้เป็นพระมหาธรรมราชาปกครองเมืองพิษณุโลก ทำให้เมืองพิษณุโลกมี "พระมหาธรรมราชา" มาปกครองอีกครั้ง พระวิสุทธิกษัตริย์ทรงสร้างวัดนางพญา
เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่ายกทัพมาประชิดเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2106 พระมหาธรรมราชายอมจำนนต่อพระเจ้าบุเรงนองทำให้พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดกลายเป็นประเทศราชของพม่า สมเด็จพระมหินทราธิราชแห่งอยุธยาทรงร่วมมือกับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้างร่วมกันยกทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกในแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งพระเจ้าบุเรงนองตั้งให้พระมหาธรรมราชาครองอยุธยา
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงตั้งให้พระโอรสคือสมเด็จพระนเรศวรขึ้นเป็นพระมหาอุปราชไปครองเมืองพิษณุโลกอีกครั้งในพ.ศ. 2114 ประทับที่พระราชวังจันทน์ ตามข้อสันนิษฐานของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลในปีพ.ศ. 2127 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เมืองพิษณุโลกทำให้ "เกิดเหตุอัศจรรย์แม่น้ำซายหัวเมืองพิษณุโลกนั้น ป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นนั้นสามศอก" เมืองพิษณุโลกอาจเสียหายมาก หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงแล้วจึงมีพระราชโองการให้ "เทครัว" กวาดต้อนผู้คนในหัวเมืองเหนือทั้งหมดรวมถึงพิษณุโลกลงมายังภาคกลางตอนล่างเพื่อเตรียมการรับศึกกับพม่าทำให้เมืองพิษณุโลกกลายเป็นเมืองร้างอยู่เป็นเวลาแปดปี จนกระทั่งหลังจากเสร็จสิ้นสงครามยุทธหัตถีแล้วสมเด็จพระนเรศวรฯจึงทรงฟื้นฟูเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2136 โดยการแต่งตั้งให้พระชัยบุรี หรือพระยาชัยบูรณ์ เป็นพระยาสุรสีห์ฯเจ้าเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกเปลี่ยนฐานะจากเมืองของพระมหาอุปราชมาเป็นเมืองชั้นเอกมีขุนนางเป็นเจ้าเมือง ปรากฏราชทินนามของเจ้าเมืองพิษณุโลกว่า เจ้าพระยาสุรสีห์พิศมาธิราช ชาติพัทยาธิเบศราธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ หรือ "เจ้าพระยาพิษณุโลกเอกอุ" ศักดินา 10,000 ไร่ เมืองพิษณุโลกหัวเมืองชั้นเอกฝ่ายเหนือของอยุธยาคู่กับเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองเอกฝ่ายใต้
สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จมานมัสการพระพุทธชินราชในพ.ศ. 2146 พร้อมทั้งโปรดฯให้นำทองนพคุณมาปิดทองพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปสำริด เป็นการปิดทององค์พระพุทธชินราชครั้งแรก ในพ.ศ. 2205 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลังจากเสร็จสิ้นศึกเชียงใหม่ทรงนมัสการพระพุทธชินราช และโปรดฯให้สร้างรอยพระพุทธบาทจำลองเมื่อพ.ศ. 2222 ประดิษฐานไว้ ที่วัดจุฬามณี ในรัชสมัยพระเพทราชามีการปฏิรูปการปกครอง หัวเมืองฝ่ายเหนือรวมถึงเมืองพิษณุโลกอยู่ภายใต้การปกครองของสมุหนายก ในพ.ศ. 2309 เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่ายกทัพเข้ายึดเมืองสุโขทัย เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) นำทัพพิษณุโลกเข้ากอบกู้เมืองสุโขทัย เจ้าฟ้าจีดเสด็จหลบหนีจากกรุงศรีอยุธยามายึดอำนาจที่เมืองพิษณุโลกทำให้เจ้าพระยาพิษณุโลกต้องเลิกทัพจากสุโขทัยกลับไปยึดอำนาจคืนจากเจ้าฟ้าจีด และทัพพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยาได้โดยไม่ยึดเมืองพิษณุโลก
สมัยธนบุรี
หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าชุมนุมพิษณุโลกมีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์และปากน้ำโพ ในพ.ศ. 2311 เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตนขึ้นเป็นพระเจ้าพิษณุโลกพระเจ้าแผ่นดิน หลังจากนั้นอีกเจ็ดวันหรือหกเดือนจึงถึงแก่พิราลัย พระอินทร์อากรน้องชายของเจ้าพระยาพิษณุโลกขึ้นเป็นผู้นำชุมนุมพิษณุโลกต่อมา แต่ชุมนุมเจ้าพระฝางเข้ายึดชุมนุมพิษณุโลกประหารชีวิตพระอินทร์อากรและกวาดต้อนทรัพย์สินผู้คนไปยังเมืองสวางคบุรี เมืองพิษณุโลกอยู่ภายใต้การปกครองของชุมนุมเจ้าพระฝางจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและเจ้าพระยายมราช (บุญมา) ซึ่งต่อมาคือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทยกทัพขึ้นมายึดเมืองพิษณุโลกได้สำเร็จในพ.ศ. 2313 ทำให้พิษณุโลกเข้ามาอยู่การปกครองของธนบุรีและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยายมราช (บุญมา) เป็น "เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชฯ" ปกครองเมืองพิษณุโลก
ในพ.ศ. 2318 ในขณะที่เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ซึ่งต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯกำลังทำศึกที่เมืองเชียงแสนนั้น แม่ทัพพม่าอะแซหวุ่นกี้ยกทัพเข้ามาผ่านด่านแม่ละเมาแขวงเมืองตากเข้ารุกรานเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์เร่งทัพลงมาป้องกันเมืองพิษณุโลก อะแซหวุ่นกี้นำทัพพม่าเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่นานสี่เดือนและตัดเส้นทางเสบียงทำให้เมืองพิษณุโลกขาดแคลนอาหาร อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวพระเจ้าพระยาจักรีที่เนินดินซึ่งเชื่อว่าปัจจุบันอยู่ที่หน้าสำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลกเดิมซึ่งประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์พิจารณาว่าศึกครั้งนี้ไม่สามารถต้านได้จึงฝ่าวงล้อมของศัตรูออกไปตั้งมั่นที่เพชรบูรณ์ อะแซหวุ่นกี้นำทัพพม่าเข้าปล้นสะดมเผาทำลายเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกถูกทำลายลงโดยส่วนใหญ่ ทำลายพระราชวังจันทน์ เหลือเพียงพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งไม่ถูกทำลาย
สมัยรัตนโกสินทร์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อพ.ศ. 2325 จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้ "หลวงนรา" เป็น "พระยาพิษณุโลก" ในพ.ศ. 2328 สงครามเก้าทัพ แม่ทัพพม่าเนเมียวสีหซุยยกทัพจากลำปางลงมารุกรานหัวเมืองเหนือ หลวงนราพระยาพิษณุโลกเห็นว่าข้าศึกมีกำลังมากฝ่ายหัวเมืองเหนือมีกำลังน้อยจากการสูญเสียกำลังพลไปมากในสงครามอะแซหวุ่นกี้ จึงสละเมืองพิษณุโลกหลบหนีเข้าป่าไม่ได้ต่อสู้ต้านทานการรุกรานของพม่า ทัพพม่าจึงเดินทัพผ่านหัวเมืองเหนือลงไปยังนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯทรงให้รื้อกำแพงเมืองพิษณุโลกลงเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น เมืองพิษณุโลกซึ่งเผชิญกับศึกสงครามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณยี่สิบปีอยู่ในสภาวะทรุดโทรมและขาดการทำนุบำรุง ในพ.ศ. 2372 กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญพระพุทธชินสีห์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ได้อัญเชิญพระศรีศาสดาไปยังวัดบางอ้อยช้าง(ซึ่งต่อมาพระศรีศาสดาได้ไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศฯ)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องพระพุทธชินราชว่า "...จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว" มีพระราชดำริอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปเป็นองค์ประธานของวัดเบญจมบพิตรปรากฏเรื่องเล่ามุขปาฐะว่าในการอัญเชิญพระพุทธชินราชนั้นเกิดเหตุอัศจรรย์ไม่สามารถนำพระพุทธชินราชลงแพได้ หรือเมื่อเข็นลงแพแล้วแพหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวจึงไม่สามารถอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปยังกรุงเทพได้และประดิษฐานในเมืองพิษณุโลกดังเดิม มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกขึ้นในพ.ศ. 2437 โดยมีเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครองประกอบด้วยห้าเมืองได้แก่เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสุโขทัย เมืองพิจิตร และเมืองสวรรคโลก ต่อมารวมมณฑลเพชรบูรณ์เข้าร่วมด้วย โดยมีเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เป็นข้าหลวงคนแรก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสยามมกุฏราชกุมารเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2450 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อมีการตรา"พระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476" ขึ้น มณฑลเทศาภิบาลสิ้นสุดลงนำไปสู่การจัดตั้งจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน
ครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สะพานข้ามแม่น้ำน่านหน้าวัดใหญ่ก็ถูกทิ้งระเบิด แต่ทิ้งเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเป้าหมายทั้ง ๆ ที่ในอดีต เป็นสะพานไม้ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดพิษณุโลกมีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่แตกต่างกันตามการแบ่งแบบต่าง ๆ หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเกณฑ์การแบ่งภาคอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสภา จะจัดอยู่ในภาคกลาง โดยอยู่ทางตอนบนของภาค ห่างจากกรุงเทพมหานคร 368 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพิชัย อำเภอทองแสนขัน และอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์, แขวงไชยบุรี ประเทศลาว
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองพิจิตร อำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม และอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกงไกรลาศ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย, อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
ภูมิประเทศ
ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเนินมะปราง อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการ พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง
ภูมิอากาศ
จังหวัดพิษณุโลกมีลมมรสุมพัดผ่านจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู
- ฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน จะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยประมาณปีละ 1,375 มิลลิเมตร
- ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส