รับปิดงบการเงินเปล่า อุดรธานี

Posted on Posted in รับปิดงบการเงินชาวต่างชาติ, รับปิดงบรอบไม่ปกติ, รับปิดงบเปล่า

ติดต่อจดทะเบียนบริษัท

รับปิดงบการเงินเปล่า

ให้บริการด้านการจัดตั้งธุรกิจ รับปิดงบการเงินเปล่า รับปิดงบการเงินทั่วไทย ทราบกันดีว่า ทุกๆ สิ้นปี 31 ธันวาคม นิติบุคคลจะต้องปิดงบการเงิน เพื่อ นำส่ง กระทรวงพาณิชย์ กรมสรรพากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีระยะเวลากำหนดรับงบการเงิน หากยื่น เกินกำหนด ก็จะก่อให้เกิด ค่าปรับต่างๆ และยังส่งผลกระทบด้านอื่น ตามมา เช่น บางบริษัท อาจจะเป็นต้องใช้งบการเงินในการยืมกู้สินเชือต่างๆ หรือใช้ประมูลงานราชการซึ่งจำเป็นต้องใช้งบการเงิน ประกอบ ดังนั้น บริษัท ยินดีที่จะให้บริการ ปิดงบการเงินให้กับ นิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลหมู่บ้าน โรงเรียน ฯลฯ การยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ใบทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า) หน้าที่การยื่น แบบแสดงรายได้ เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ ให้ยื่น ภายในสินเดือน มีนาคม ของทุกปี ซึ้งของดีคือ ผุ้ประกอบการสามารรถใช้เอกสารการเสียภาษี เป็นเอกสารประกอบการยืมกู้ของสินเชือได้ เพราะสถาบันการเงินจะขอหลักฐานที่แสดงว่ามีรายได้

บริการเริ่มตั้งแต่การให้ คำแนะนำในการเลือกประเภทจดทะเบียนธุรกิจ วางระบบบัญชี ทำบัญชีรายเดือน การวางแผนกำหนดชำระภาษี ปิดงบการเงิน จนถึง ตรวจสอบงบการเงิน พร้อมนำส่ง กระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากร ให้ทันตามเวลากำหนด โดยให้ลูกค้าเสียภาษี น้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนด

สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ไม่ใช่การจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือจดห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่เป็นเรื่องของการวางแผนภาษี การจัดทำบัญชี มากกว่า การดูแลให้ธุรกิจอยู่รอดในแต่ละปี ทำอย่างไรถึงจะมีงานตลอด ขายของได้ตลอด มียอดขายดี สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ต้องการมากกว่าแค่การทำบัญชีทั่วๆไป คือ “คำปรึกษา” ซึ่งทางบริษัท ควิกแอคเคาท์ติ้ง จำกัด เป็นมากกว่าสำนักงานบัญชี สิ่งที่เราให้ จะมีมูลค่ามากกว่าค่าบริการที่เราได้รับ เราให้ได้เพราะเราขาย “ประสบการณ์” ประสบการณ์ที่ผู้บริหารหลายท่านต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ แต่เรานำมาถ่ายทอดให้ท่านฟรี เพียงเพราะเราต้องการให้ธุรกิจของท่านเติบโต และดำเนินไปด้วยความราบรื่นด้วยดีตลอดไป
ปรึกษาเรื่องการปิดงบการเงิน จดทะเบียนบริษัท ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เราดำเนินงานด้าน รับจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัท อย่างมีระบบ และคำนึงถึงความถูกต้อง เราสามารถช่วยหาทางออกในการดำเนินธุรกิจของท่านให้ประสบความสำเร็จได้ โทร 083-622-5555

รับปิดงบเปล่า รับปิดงบการงานเงินเปล่า ปิดงบเปล่า ปิดงบการเงินเปล่า ปิดงบเปล่าด่วน

บริการจดทะเบียนบริษัท

รับจดทะเบียนบริษัททุกประเภท ทั่วไทย เริ่มตั้งแต่ให้คำปรึกษา จองชื่อนิติบุคคล จัดเตรียมแบบ ไปจดทะเบียน ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

บริการขอใบอนุญาต

บริการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงงาน ท่องเที่ยว ใบอนุญาต อย.และ สคบ. ขอวีซ่า work permit ขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ

บริการด้านรับทำบัญชี

บริการด้านรับทำบัญชี เพียงไม่กี่รายในประเทศไทย ที่มีมาตรฐานในการทำงาน เนื่องด้วยผู้บริหารหลายท่าน มีวิสัยทัศน์ในเรื่องการบริหาร การตลาดยุคใหม่

 

พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่

ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก
ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท
ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม

 

พิเศษ !!!  ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี

  • ฟรี เว็บไซต์ สำหรับบริษัทพร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
  • ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท
  • ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
  • ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
  • ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่าระบบออนไลน์
  • ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
  • ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ

สิ่งที่ลูกค้าได้รับ
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรี ออกแบบตรายางให้เลือก 3 แบบ
ฟรี ตรายางหมึกในตัว 2 อัน *
ฟรี ไฟล์ตรายาง สำหรับนำไปใช้งาน (ไฟล์ AI)
ฟรี เอกสารสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชี
ฟรี นามบัตรสำหรับออกใบกำกับภาษี
ฟรี คอร์สอบรมผู้ประกอบการใหม่ (มูลค่า 5,900 บาท)
ฟรี จัดทำบัญชี ฟรี 1 เดือน ***

ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์
หนังสือรับรองบริษัท
รายละเอียดวัตถุประสงค์บริษัท
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ออกแบบเว็บไซต์ องค์กร/หน่วยงาน ราคาพิเศษ 5,000 บาท

*** หมายเหตุ
- * ตรายางอันที่ 2 และ 3 เป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
-  *** จัดทำบัญชีฟรี 1 เดือน สำหรับลูกค้าใหม่ที่ตกลงใช้บริการทำบัญชี ตั้งแต่ 12 เดือน ขึ้นไป

จังหวัดอุดรธานี

คำขวัญ: กรมหลวงประจักษ์ฯ สร้างเมือง ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง แรงศรัทธาศรีสุทโธปทุมมาคำชะโนด

ประวัติศาสตร์

ก่อนยุคประวัติศาสตร์

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

จังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประวัติศาสตร์และเป็นดินแดนแห่งอุทยานประวัติศาสตร์อันเป็นมรดกโลก จากการขุดค้นพบซากโครงกระดูกและโบราณวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน การพบถ้ำและภาพเขียนสีต่างๆ ที่อำเภอบ้านผือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าบนดินแดนเขตจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน เคยมีชุมชนตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงราว 5,000-7,000 ปีที่ผ่านมา

จากการสืบค้นและศึกษาทางโบราณคดี เป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีระหว่างประเทศว่า ชุมชนเก่าแก่เหล่านี้เคยมีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้น สันนิษฐานว่าอาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่เก่าที่สุดของโลก

หลักฐานหนึ่งที่น่าสนใจ คือโบราณวัตถุที่ขุดพบในบ้านเชียง ได้มีการนำไปศึกษาทดสอบอายุของภาชนะดินเผาโบราณด้วยระบบเรดิโอคาร์บอน หรือ คาร์บอน 14 พบว่าภาชนะดินเผาเหล่านี้มีอายุเก่าแก่ประมาณ 2,000-5,600 ปี ซึ่งนักโบราณคดีได้แบ่งอายุวัฒนธรรมบ้านเชียงออกเป็น 3 ช่วงตามลักษณะเด่นของภาชนะดินเผา โดยแบ่งเป็นประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยปลาย สมัยกลาง และสมัยต้น ดังนี้

สมัยปลาย ภาชนะมีลักษณะเด่นที่ลายเส้นสีแดง พื้นผิวสีนวล มีอายุตั้งแต่ 1,800-2,300 ปี

สมัยกลาง พบภาชนะมีอายุตั้งแต่ 2,300-3,000 ปี ลักษณะเด่นอยู่ที่รูปทรงเป็นสันหักมุม ก้นภาชนะมีทั้งแบบแหลมและกลม ภาชนะสีขาว

สมัยต้น ภาชนะดินเผามีสีดำ ลักษณะเชิงเตี้ย ครึ่งบนตกแต่งด้วยเส้นขีดเป็นลายขด ส่วนครึ่งล่างภาชนะตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ มีอายุมากกว่า 3,000-5,600 ปี

นอกจากนั้น แหล่งโบราณคดีอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ที่ยืนยันให้เห็นความรุ่งเรืองและอารยธรรมโบราณที่เคยปรากฏบนผืนดินแห่งเมืองอุดรธานี หลักฐานสำคัญที่ค้นพบในเขตนี้ได้แก่ ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งพบหลายแห่งบนเทือกเขาภูพานน้อยหรือภูพระบาทนี้ ภาพที่สำคัญๆ เช่น ภาพเขียนสีถ้ำคน ภาพเขียนสีถ้ำวัว ภาพเขียนสีโนนสาวเอ้ เป็นต้น ภาพเขียนเหล่านี้ใช้สีดินแดงเขียน เป็นภาพเหมือนจริงบ้าง เป็นภาพเรขาคณิตบ้างหรือภาพฝ่ามือแดงบ้าง ซึ่งนักโบราณคดีให้ความเห็นว่า คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขียนขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม หรือเป็นสัญลักษณ์สื่อสารกันระหว่างคนในเผ่า

โดยในพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ส่วนของห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้แบ่งยุคโบราณคดีในชุดวัฒนธรรมบ้านเชียงออกมาเป็นยุคแรก และยุคอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเป็นยุคประวัติศาสตร์ยุคที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงอารยธรรมมนุษย์โบราณสมัย 1,200-1,800 ปีที่ผ่านมา

ยุคประวัติศาสตร์

หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงและแถบพื้นที่ราบสูงอำเภอบ้านผือแล้ว ดินแดนในเขตจังหวัดอุดรธานี ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีก จนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นับแต่สมัยทวารวดี (พ.ศ. 1200-1600) สมัยลพบุรี(พ.ศ. 1200-1800) และสมัยสุโขทัย(พ.ศ. 1800-2000)

จากหลักฐานที่พบคือ ใบเสมาสมัยทวารวดี ลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ในขณะนั้นแต่อย่างใด ในส่วนของหลักฐานทางด้านพุทธศาสนาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าดินแดนที่ราบสูงแห่งนี้ ได้มีวัฒนธรรมอินเดียแพร่เข้ามาซึ่งเชื่อว่ามาจากแอ่งโคราช แล้วเผยแพร่มาสู่บริเวณลุ่มน้ำโขง

สมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่จังหวัดอุดรธานีได้ปรากฏในประวัติศาสตร์ เมื่อราวปีจอ พ.ศ. 2117 เมื่อพระเจ้ากรุงหงสาวดี(บุเรงนอง)ได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคณหุต(เวียงจันทร์)โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยยกมาถึงเมืองหนองบัวลำภู(จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบันเคยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี)ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทร์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษ จึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทร์ และที่เมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ

สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษศิลปาคม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2325 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้ทรงทะนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญมาโดยตลอดซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวนั้นยังไม่ได้มีการจัดตั้งเมืองอุดรธานี ดังนั้นจึงยังไม่มีชื่อเมืองอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์ และพงศาวดารในเวลานั้น แต่ได้มีการกล่าวถึงเมืองหนองบัวลำภูในสมัยรัชกาลที่3พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือ

ในระหว่าง พ.ศ. 2369-2371 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมาและเมื่อพ่ายแพ้ชาวนครราชสีมาซึ่งมีผู้นำคือ คุณหญิงโม(ท้าวสุรนารี)กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในระยะเวลานั้น นับเป็นเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ประเทศไทย(ในขณะนั้นเรียกว่าประเทศสยาม)ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศทางตะวันตกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้วัฒนธรรม อารยธรรม ความเจริญต่างๆได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย

ประกอบกับในระยะเวลานั้นเป็นระยะเวลาของการแสวงหาเมืองขึ้น ตามลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกของชาติตะวันตกที่สำคัญสองชาติ คือ อังกฤษ กับฝรั่งเศสที่พยายามจะผนวกดินแดนบริเวณแหลมอินโดจีนให้เป็นเมืองขึ้นของตน และพยายามที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากเมืองไทยในระหว่าง พ.ศ. 2391-2395 พวกจีนที่เป็นกบฏที่เรียกว่ากบฏไต้เผง ถูกจีนตีจากผืนแผ่นดินใหญ่ได้มาอาศัยอยู่ตามชายแดนไทย ลาว และญวน ซึ่งเวลานั้นดินแดนลาวที่เรียกว่า ล้านช้าง บริเวณเขตสิบสองจุไทย หัวพันทั้งห้าทั้งหก ขึ้นอยู่กับประเทศไทย พวกฮ่อได้เที่ยวปล้นสะดมก่อความไม่สงบและได้กำเริบเสิบสานมากขึ้นจนกระทั่ง พ.ศ. 2411ได้เข้ายึดเมืองลาวกาย เมืองพวน เมืองเชียงขวาง และยกมาตีเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทร์ และหนองคายต่อไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพ.ศ. 2411 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุโขทัยกับพระยาพิชัยยกกองทัพไปช่วยหลวงพระบางและให้พระยามหาอำมาตย์ยกทัพไปช่วยทางด้านหนองคาย แล้วรับสั่งให้เจ้าพระยาภูธราภัยยกกองทัพไปช่วย พระยามหาอำมาตย์อีกกองทัพหนึ่ง

กองทัพไทยสามารถตีพวกฮ่อแตกพ่ายไป แต่กระนั้นก็ตามพวกฮ่อที่แตกพ่ายไปแล้วนั้นก็ยังทำการปล้นสะดมรบกวนชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งใน พ.ศ. 2428 พวกฮ่อได้ส่องสุมกำลังมากขึ้น จนสามารถยึดเมืองซอนลา เมืองเชียงขวาง และทุ่งเชียงคำไว้ได้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม(พระยศในสมัยนั้น)เป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปปราบปรามทางด้านเมืองหนองคาย เรียกว่าแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้และเจ้าหมื่นไวยวรนาถ (ต่อมาเป็นจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี)เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือทางเมืองหลวงพระบาง

กองทัพไทยทั้งฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือต้องประสบความลำบากในการทำสงครามกับพวกฮ่อ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา ซึ่งมีไข้ป่าชุกชุมทำให้ทหารฝ่ายไทยต้องล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ในที่สุดกองทัพไทยทั้งฝ่ายใต้ละฝ่ายเหนือก็สามารถตีพวกฮ่อแตกพ่ายไป

ในเวลานั้นจังหวัดอุดรธานียังไม่ปรากฏชื่อ ปรากฏเพียงบ้านหมากแข้งหรือบ้านเดื่อหมากแข้ง สังกัดเมืองหนองคาย ขึ้นการปกครองกับมณฑลลาวพวน ซึ่งกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ ได้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้งไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ

ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้ว ไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศลต้องการลาว เขมร และญวนเป็นอาณานิคม เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)" ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตรของฝั่งแม่น้ำโขง

ดังนั้น หน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมืองหรือมณฑลอุดรธานี ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ปัจจุบัน) และหนองน้ำอีกหลายแห่งรวมทั้งห้วยหมากแข้งซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลอุดรธานี และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญเพราะเหตุผลทางด้านความมั่นคงและการเมืองระหว่างประเทศ อีกทั้งเหตุผลทางการค้า การคมนาคมในอดีต

อย่างไรก็ตามคำว่า "อุดร" มาปรากฏในชื่อเมืองเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450 (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ. 127 พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราช วรานุวัตร "โพธิ์ เนติโพธิ์") พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้ง เป็นศูนย์กลางของมณฑลอุดร ครอบคลุม จังหวัด อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เลย หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหารในสมัยนั้น หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่านั้นมณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัด "อุดรธานี" เท่านั้น อย่างไรก็ตามอุดรธานียังคงมีหน่วยงานราชการด้านการปกครองของกระทรวงต่าง ๆ ที่จัดตั้งในส่วนภูมิภาคที่แสดงเค้าโครงของศูนย์กลางการปกครองในพื้นที่อิสานตอนบน เช่น สำนักบริหารการทะเบียนราษ ภาค 4 คลังเขต 4 สรรพสามิตเขต 4 ศาล ตำรวจภูธรเขต 4 เป็นต้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *